สมเด็จพระสังฆราช แพ ติสฺสเทวะ
พระสังฆราชองค์ที่ 12 (พ.ศ. 2481-2487)
สมเด็จพระสังฆราช วัดสุทัศน์เทพวราราม
พระนามเดิมว่า แพ พระฉายานาม ติสสเทวะ ประสูติในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตรงกับวันพุธ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ ค่ำ
ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๑๘ ตรงกับสุริยคติวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 บิดาชื่อ นุตร์ มารดาชื่อ อ้น
เป็นชาวสวนบางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี
มีพี่น้องร่วมมารดาบิดาเดียวกันรวม ๗ คน คือ
๑. นางคล้าม พงษ์ปาละ
๒. สมเด็จพระสังฆราช (แพ)
๓. หลวงพุทธพันธพิทักษ์ (อยู่)
๔. นางทองคำ พงษ์ปาละ
๕. นางทองสุข พงษ์ปาละ
๖. นายชื่น พงษ์ปาละ
๗. นายใหญ่ พงษ์ปาละ
สมเด็จพระสังฆราชแพมีภูมิลำเนาสถานที่กำเนิดแถบบางลำพูล่าง
อ.คลองสาน ธนบุรี มีนามสกุลว่า พงษ์ปาละ เมื่อเยาว์วัยประมาณ ๗ ขวบปีได้ศึกษาที่วัดทองนพคุณแถบคลองสาน
พอเจริญวัยได้
๑๓โยมบิดาได้พามาถวายตัวเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัตสมบุรณ์(ครั้งเป็นพระธรรมวโรดมวัดราชบุรณะ)
ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดราชบุรณะ แล้วกลับไปอยู่ที่วัดทองธรรมชาติเพื่อศึกษาต่อ
ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระอาจารย์โพวัดเศวตฉัตร
สมเด็จพระสังฆราช แพ ติสฺสเทวะ |
ต่อมาสมเด็จพระวันรัตสมบุรณ์(สมบุรณ์เขียนตามสำนวนเดิม)ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าจากรัชกาลที่๕ ให้ย้ายไปครองวัดพระเชตุพนฯเมื่อพ.ศ.๒๔๑๕ สมเด็จพระวันรัตสมบุรณ์ได้ให้สามเณรแพที่ขณะนั้นมีอายุ ๑๖ ปีมาอยู่ด้วย สามเณรแพรจึงได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจากสมเด็จพระวันรัตสมบุรณ์ ทั้งยังคงศึกษากับพระอาจารย์โพอยู่เนืองๆ ที่สำนักสมเด็จพระวันรัตนี้เอง สามเณรแพได้มีโอกาสศึกษากับนักปราชญ์ในยุคนั้นหลายท่านเช่น เสมียนตราศุข พระโหราธิบดี ชุ่ม
ต่อมาสมเด็จพระวันรัตสมบุรณ์ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าจากรัชกาลที่๕ ให้ย้ายไปครองวัดพระเชตุพนฯเมื่อพ.ศ.๒๔๑๕ สมเด็จพระวันรัตสมบุรณ์ได้ให้สามเณรแพที่ขณะนั้นมีอายุ ๑๖ ปีมาอยู่ด้วย สามเณรแพรจึงได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจากสมเด็จพระวันรัตสมบุรณ์ ทั้งยังคงศึกษากับพระอาจารย์โพอยู่เนืองๆ ที่สำนักสมเด็จพระวันรัตนี้เอง สามเณรแพได้มีโอกาสศึกษากับนักปราชญ์ในยุคนั้นหลายท่านเช่น เสมียนตราศุข พระโหราธิบดี(ชุ่ม)
พ.ศ.๒๔๑๙สามเณรแพมีอายุครบบวช
แต่สมเด็จพระวันรัตสมบุรณ์อาพาธ สามเณรแพต้องอยู่ดูแลจึงยังไม่มีโอกาสบวช
พอสมเด็จพระวันรัตสมบุรณ์ใกล้มรณภาพได้แนะนำให้สามเณรแพไปถวายตัวเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัตแดงวัดสุทัศนฯ
ครั้งยังเป็นพระเทพกระวี
สมเด็จพระวันรัต แดง วัดสุทัศนฯ |
พ.ศ.๒๔๒๒สามเณรแพมีอายุ ๒๒ ปี
จึงค่อยได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเศวตฉัตร ซึ่งเป็นละแวกบ้านเดิม โดยมีสมเด็จพระวันรัตแดง(ขณะเป็นพระธรรมวโรดม)เป็นพระอุปัชฌาย์
อุปสมบทแล้วจึงย้ายจากวัดพระเชตุพนฯไปอยู่กับสมเด็จพระวันรัตแดงที่วัดสุทัศนฯ
พระภิกษุแพศึกษาพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระวันรัตแดง
ทั้งยังได้ไปศึกษากับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์สาวัดราชประดิษฐ์(ต่อมาเป็นสมด็จพระสังฆราช)
พระภิกษุแพเข้าแปลพระปริยัติธรรมขณะที่เป็นพระครูวินัยธร แปลได้เป็นเปรียญ ๔
ประโยคเมื่อพ.ศ.๒๔๒๕ พอถึงพ.ศ.๒๔๒๘เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
แปลได้อีก ๑ ประโยครวมเป็นเปรียญ ๕ ประโยค
พระมหาแพปฏิบัติศาสนกิจด้วยความเอาใจใส่เป็นอย่างดี
ได้รับพระราชาทานสมณศักดิ์เจริญก้าวหน้าตามลำดับดังนี้
พ.ศ.๒๔๓๒
ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระศรีสมโพธิ
พ.ศ.๒๔๓๙
ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเสมอพระราชาคณะผู้ใหญ่ชั้นเทพ
ในราชทินนามเดิมคือ พระศรีสมโพธิ
พ.ศ.๒๔๔๑
ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระเทพโมลี
พ.ศ.๒๔๔๓ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่
พระธรรมโกษาจารย์
พ.ศ.๒๔๕๕ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่
พระพรหมมุนี
พ.ศ.๒๔๖๖
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์
เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี
พ.ศ.๒๔๗๒
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนาเป็น สมเด็จพระวันรัต
พ.ศ.๒๔๘๑
เป็นรัชสมัยของรัชกาลที่ ๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่
๑๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๑
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระสุพรรณบัฏตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเมื่อวันที่
๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๒
สมเด็จพระสังฆราชแพทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างเต็มกำลัง ทั้งยังเป็นมิ่งขวัญแก่ศิษยานุศิษย์ตลอดจนประชาชนทั้งหลายโดยไม่เลือกเชื้อชาติหรือฐานะ จึงมีมหาชนเคารพศรัทธากันมาก
ภาพจาก dhammajak.net ครั้งเป็นพระเทพโมฬี |
การแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยครั้งแรก
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่สร้างกรุงเทพฯจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๘
ได้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกถึง ๓ ครั้ง คือครั้งรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๕
และรัชกาลที่ ๗ เป็นการสังคายนาบาลีให้ถูกต้อง แต่การแปลบาลีพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยให้จบครบถ้วนยังไม่มี
คงมีแต่แปลกันเป็นเฉพาะเรื่องเฉพาะตอนเท่านั้น
สมเด็จพระสังฆราชแพทรงดำริที่จะแปลพระไตรปิฎกบาลีเป็นภาษาไทยให้จบทั้งคัมภีร์
เพื่อที่เป็นประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชนพุทธบริษัทสี่ชาวไทย การนี้ได้รับพระราชทานให้เป็นพระบรมราชูปถัมภ์
การแปลพระไตรปิฎกจากภาษาบาลีให้เป็นภาษาไทยจึงเกิดขึ้นในสมัยของสมเด็จพระสังฆราชแพ
ติสฺสเทวมหาเถระนี่เอง
ครั้งเป็นพระพรหมมุนี แพ |
แถวนั่งที่3จากซ้าย ครั้งเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ แพ |
ภาพจาก dhammajak.net |
ภาพจาก dhammajak.net |
แถวหน้าที่จากซ้าย ครั้งเป็นสมเด็จพระวันรัต แพ |
เสด็จดับขันธ์
สมเด็จพระสังฆราชแพทรงบำเพ็ญศาสนกิจเป็นอันมาก
ทั้งๆที่ทรงมีพระชนมายุมากแล้วก็ยังมิได้ทอดทิ้งกิจนั้น ความตรากตำเอาใจใส่ทรงงานหนัก
ในที่สุดพระองค์ก็เริ่มประชวรมากขึ้น จนกระทั่งวันเสาร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๗
พระองค์จึงเสด็จดับขันธ์สิ้นพระชนม์ นับสิริพระชนมายุได้ ๘๙ พรรษา พระพรรษาผนวช ๖๖
พรรษา ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเวลา ๗ พรรษา
พระกริ่งวัดสุทัศนฯ
สมเด็จพระสังฆราชแพเป็นผู้ทรงคุณทางพระกรรมฐานมาก
ทั้งรอบรู้วิชาการของโบราณสารพัด
พระองค์ได้สถาปนาพระเครื่องที่มีชื่อเสียงมากแบบหนึ่ง
นั่นคือพระโลหะที่เขย่าแล้วมีเสียงกริ๊กๆ เรียกพระเครื่องแบบนี้ว่าพระกริ่ง
ถือกันว่าในบรรดาพระหล่อโลหะทั้งปวง พระกริ่งเป็นพระชั้นสูงสุด
มีขั้นตอนการสร้างยาก ระเบียบแบบแผนในการสร้างและพิธีกรรมมาก
ผู้สร้างต้องมีความอุตสาหะสูง มีสมาธิจิตสูง
การที่สมเด็จพระสังฆราชแพทรงสนพระทัยในการสร้างพระกริ่งนั้น ท่านอาจารย์
นิรันดร์ แดงวิจิตร ผู้เป็นศิษย์รับใช้ใกล้ชิด และเคยเป็นพระเลขาฯของสมเด็จพระสังฆราชแพ
ได้เขียนไว้ในหนังสือตำนานพระกริ่งว่า
อาจารย์ นิรันดร์ แดงวิจิตร |
อาจารย์ นิรันดร์ เจิมหน้าผากในวันไหว้ครูที่ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช แพ |
ครั้งหนึ่งสมเด็จพระวันรัตแดงอาพาธเนื่องจากอหิวาตกโรค
ขณะนั้นสมเด็จพระสังฆราชแพยังเป็นที่พระศรีสมโพธิ
ในครั้งนั้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสเสด็จมาเยี่ยม
รับสั่งว่าเคยเห็นสมเด็จกรมพระยาปวเรศฯ เสด็จพระอุปัชฌาย์ของพระองค์เอง
อาราธนาพระกริ่งแช่น้ำอธิษฐานทำน้ำมนต์ให้คนเป็นอหิวาต์ดื่มกิน
ปรากฏว่าหายจากโรคได้
แล้วสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯรับสั่งให้มหาดเล็กไปเอาพระกริ่งที่วัดบวรฯ
สมเด็จพระวันรัตแดงกราบทูลว่าพระกริ่งที่กุฏิมี สมเด็จพระมหาสมณเจ้ารับสั่งให้นำพระกริ่งมาอาราธนาทำน้ำมนต์ แล้วถวายให้สมเด็จพระวันรัตแดงฉัน
อาการป่วยก็ทุเลาลงจนหายดี
นับแต่นั้นพระศรีสมโพธิ(พระสังฆราชแพ)จึงสนใจในการสร้างพระกริ่ง ได้สืบสวนเสาะหาวิธีการสร้างพระกริ่ง ค้นคว้าจนกระทั่งสามารถผสมเนื้อโลหะออกมาได้มีวรรณะสีผิวหลายอย่าง และที่กลับดำสนิท เรียกว่าเนื้อนวโลหะนั่นเอง สำหรับตำราการสร้างพระกริ่งนั้น ได้รับมาจากพระพุฒาจารย์มา วัดสามปลื้ม หรือที่เรียกกันว่าท่านเจ้ามา
สมเด็จพระสังฆราชแพทรงสร้างพระกริ่งครั้งแรกเมื่อครั้งเป็นพระเทพโมฬี และได้สร้างต่อมาโดยตลอด จำนวนการสร้างในแต่ละครั้งค่อนข้างน้อย ยกเว้นในกรณีที่มีผู้ขอให้สร้างมากหน่อยเฉพาะเท่าที่จำเป็น ในปัจจุบันพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราชแพเป็นที่นิยมของนักสะสมพระเครื่องกันมาก และหายากมากๆ นับเป็นวัตถุมงคลในฝันกันเลย
ในปัจจุบันนี้ที่วัดสุทัศนฯยังมีพิธีทำบุญไหว้ครูระลึกถึงสมเด็จพระสังฆราชแพ โดยจะทำบุญในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของทุกปี
นับแต่นั้นพระศรีสมโพธิ(พระสังฆราชแพ)จึงสนใจในการสร้างพระกริ่ง ได้สืบสวนเสาะหาวิธีการสร้างพระกริ่ง ค้นคว้าจนกระทั่งสามารถผสมเนื้อโลหะออกมาได้มีวรรณะสีผิวหลายอย่าง และที่กลับดำสนิท เรียกว่าเนื้อนวโลหะนั่นเอง สำหรับตำราการสร้างพระกริ่งนั้น ได้รับมาจากพระพุฒาจารย์มา วัดสามปลื้ม หรือที่เรียกกันว่าท่านเจ้ามา
ท่านเจ้ามาวัดสามปลื้ม |
สมเด็จพระสังฆราชแพทรงสร้างพระกริ่งครั้งแรกเมื่อครั้งเป็นพระเทพโมฬี และได้สร้างต่อมาโดยตลอด จำนวนการสร้างในแต่ละครั้งค่อนข้างน้อย ยกเว้นในกรณีที่มีผู้ขอให้สร้างมากหน่อยเฉพาะเท่าที่จำเป็น ในปัจจุบันพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราชแพเป็นที่นิยมของนักสะสมพระเครื่องกันมาก และหายากมากๆ นับเป็นวัตถุมงคลในฝันกันเลย
ในปัจจุบันนี้ที่วัดสุทัศนฯยังมีพิธีทำบุญไหว้ครูระลึกถึงสมเด็จพระสังฆราชแพ โดยจะทำบุญในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของทุกปี
ข้อมูลจากที่ได้สนทนากับตุณตาหนู(อ.นิรันดร์ แดงวิจิตร)
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจากวิกิพิเดีย,www.dhammajak.net
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น